1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(การแยกสารเนื้อผสม มีวิธีการอย่างไร)
2 ลักษณะภายนอกของผงถ่าน และเกลือแกงเป็นอย่างไร
(ผงถ่านเป็นของแข็ง ผงละเอียดสีดำ ไม่ละลายน้ำ
ส่วนเกลือแกงเป็นผงสีขาว ทรงสี่เหลี่ยม ละลายน้ำได้ดี)
3 มีข้อควรระวังอย่างไรในการกรองสารด้วยกระดาษกรอง
(ใช้น้ำสะอาดราดบนกระดาษกรองให้เปียกก่อนกรอง
และไม่ใช้แท่งแก้วคนสารในกระดาษกรอง)
4 นักเรียนคิดว่าเมื่อนำสารหมายเลข 1 ผสมน้ำแล้วกรองด้วยกระดาษกรอง
ผลจะเป็นอย่างไร
(สารหมายเลข 1 ส่วนที่เป็นผงสีดำติดบนกระดาษกรอง)
5 ถ้านำของเหลวที่ได้จากการกรองมาต้มจนแห้ง ผลจะเป็นอย่างไร
(มีสารสีขาวติดที่ก้นถ้วยกระเบื้อง)
1 ผลการทดลองเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ อย่างไร
(สอดคล้องกับสมมุติฐาน คือ สารสีดำติดบนกระดาษกรอง ส่วนสิ่งที่เหลือในถ้วยกระเบื้องเป็นสารสีขาว)
2 สารหมายเลข 1 จัดเป็นสารประเภทใด เพราะเหตุใด
(เป็นสารเนื้อผสม เพราะมองดู ไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน)
3 องค์ประกอบแต่ละอย่างของสารหมายเลข 1 มีสมบัติเหมือนกัน
หรือต่างกันอย่างไร ทราบได้อย่างไร
(มีสถานะเป็นของแข็งเหมือนกัน แต่มีบางส่วนแตกต่างกัน คือ
มีบางส่วนสีดำ บางส่วนสีขาว และการละลายน้ำก็แตกต่างกัน
ของแข็งสีขาวละลายน้ำ แต่ของแข็งสีดำ ไม่ละลายน้ำ
ทราบได้จากการสังเกตด้วยตา และการทดลองการละลายน้ำ)
4 การกรองมีความหมายอย่างไร
(การกรอง หมายถึง วิธีการแยกสารที่เป็นของแข็ง ออกจากของเหลว
สารที่ไม่ละลายน้ำจึงติดค้างที่กระดาษกรอง)
1. จงยกตัวอย่างสารเนื้อผสมชนิดอื่นที่สามารถแยกองค์ประกอบได้ด้วยวิธีการกรอง
(ตัวอย่างคำตอบ ลูกเหม็นผสมกับเกลือ เกลือผสมกับกำมะถัน)
2 ในชีวิตประจำวันนักเรียนใช้วิธีการกรองแยกสารในเหตุการณ์ใดบ้าง
(การแยกกากมะพร้าวกับน้ำกะทิ การกรองน้ำดื่ม)
กิจกรรมที่ 4.2 เรื่อง การแยกผงชอล์กกับการบูร
1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(การแยกผงชอล์กออกจากการบูรทำได้อย่างไร)
2 ก่อนเผาสารหมายเลข 2 มีลักษณะอย่างไร
(เป็นของแข็งสีขาว ผงละเอียดสีขาวปนกับสีขาวใส มีกลิ่นหอม)
3 ให้นักเรียนคาดคะเนว่าหลังเผามีอะไรเกิดขึ้นที่บีกเกอร์และถ้วยกระเบื้อง
(มีไอผ่านรูกระดาษแข็งขึ้นมาและควบแน่นอยู่ในบีกเกอร์
และมีกลิ่นการบูร
ส่วนสารที่เหลือในถ้วยกระเบื้อง เป็นของแข็งสีขาวขุ่น)
1 ผลการทดลองเป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้หรือไม่
อย่างไร
(เป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้
คือ มีไอผ่านรูกระดาษแข็งขึ้นมา
ของแข็งที่ติดในบีกเกอร์ คือ การบูรและของแข็งที่เหลือในถ้วยกระเบื้อง
คือ ของแข็งสีขาวขุ่น ไม่มีกลิ่นการบูร)
2 หลังเผา สารที่ติดอยู่ในบีกเกอร์คือสารใด
ทราบได้อย่างไร
(การบูร ทราบได้จากการดมกลิ่น)
3
การเปลี่ยนสถานะของสารที่เกิดในถ้วยกระเบื้องเป็นอย่างไร
(ของแข็งในถ้วยกระเบื้องได้รับความร้อนกลายเป็นไอผ่านรูกระดาษขึ้นมาในบีกเกอร์
แล้วกลายเป็นของแข็งติดภายในบีกเกอร์)
4 สารที่เหลืออยู่ในถ้วยกระเบื้องคือสารใด
ทราบได้อย่างไร
(ผงชอล์ก เพราะไม่มีกลิ่นการบูร
และมีลักษณะเป็นผงสีขาวขุ่นละเอียด)
5 สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
(การแยกสารเนื้อผสมระหว่างของแข็งกับของแข็งบางชนิด
ทำได้โดยการระเหิด
ถ้าองค์ประกอบของสารเนื้อผสมนี้มีสมบัติการเปลี่ยนสถานะที่แตกต่างกัน)
6 การระเหิดคืออะไร
(การระเหิด คือ
ปรากฏการณ์ที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นแก๊ส
โดยไม่เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลวก่อน)
1 ในชีวิตประจำวันนักเรียนใช้วิธีการระเหิดแยกสารในเหตุการณ์ใดบ้าง
(ตัวอย่างคำตอบ
การแยกลูกเหม็นออกจากเกลือแกง การแยกผงไอโอดีนออกจากน้ำตาลทราย)
ทำกิจกรรมที่ 4.3 เรื่อง การแยกผงถ่านและผงตะไบเหล็ก
1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(จะมีวิธีการแยกสารเนื้อผสมระหว่างผงถ่านและผงตะไบเหล็กได้อย่างไร)
2 ถ้าทำการทดลองแยกสารเนื้อผสมซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เปรียบเทียบกับทำเพียงครั้งเดียว
ผลการทดลองจะเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
(ไม่เหมือนกัน คือ แยกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะได้สารที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น)
3 นักเรียนคิดว่า เมื่อใช้แท่งแม่เหล็กถูบนกระดาษขาวซึ่งข้างใต้มีสารเนื้อผสม
ระหว่างสารสีดำกับสารสีดำมันวาว ผลจะเป็นอย่างไร
(แม่เหล็กดูดเฉพาะสารสีดำมันวาว)
1 ผลการทดลองสอดคล้องกับที่นักเรียนคาดคะเนไว้ก่อนทดลองหรือไม่ อย่างไร
(สอดคล้อง คือ สารสีดำมันวาวเท่านั้นที่ถูกดูดด้วยแท่งแม่เหล็ก)
2 องค์ประกอบแต่ละชนิดของสารหมายเลข 3 มีสมบัติเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ทราบได้อย่างไร
(เป็นของแข็งเหมือนกัน แต่มีสมบัติต่างกัน คือ สี บางส่วนสีดำ
นักเรียนจะแยกสารทั้งสองออกจากกันได้อย่างไร
(ใช้อำนาจแม่เหล็ก เพราะแม่เหล็กสามารถดูดผงตะไบเหล็กได้)
1 วิธีการแยกสารเนื้อผสมโดยวิธีการกรอง การระเหิด และการใช้อำนาจแม่เหล็กแล้ว
ยังมีวิธีใดอีกบ้าง
(การแยกสารด้วยวิธีการตกตะกอน การใช้กรวยแยก การสกัดด้วยตัวทำละลาย
1 วิธีแยกสารด้วยการตกตะกอน และการใช้กรวยแยก เหมาะสมที่
จะใช้แยกสารที่มีสมบัติอย่างไร
แผนภาพเปรียบเทียบ ความเหมือนและความแตกต่างของการแยกสาร
ระหว่างวิธีการตกตะกอนกับการใช้กรวยแยก)
1 วิธีการแยกสารเนื้อผสมโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย มีหลักการอย่างไร
ทำกิจกรรมที่ 4.3 เรื่อง การแยกผงถ่านและผงตะไบเหล็ก
1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(จะมีวิธีการแยกสารเนื้อผสมระหว่างผงถ่านและผงตะไบเหล็กได้อย่างไร)
2 ถ้าทำการทดลองแยกสารเนื้อผสมซ้ำหลาย ๆ ครั้ง เปรียบเทียบกับทำเพียงครั้งเดียว
ผลการทดลองจะเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร
(ไม่เหมือนกัน คือ แยกซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จะได้สารที่บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น)
3 นักเรียนคิดว่า เมื่อใช้แท่งแม่เหล็กถูบนกระดาษขาวซึ่งข้างใต้มีสารเนื้อผสม
ระหว่างสารสีดำกับสารสีดำมันวาว ผลจะเป็นอย่างไร
(แม่เหล็กดูดเฉพาะสารสีดำมันวาว)
1 ผลการทดลองสอดคล้องกับที่นักเรียนคาดคะเนไว้ก่อนทดลองหรือไม่ อย่างไร
(สอดคล้อง คือ สารสีดำมันวาวเท่านั้นที่ถูกดูดด้วยแท่งแม่เหล็ก)
2 องค์ประกอบแต่ละชนิดของสารหมายเลข 3 มีสมบัติเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ทราบได้อย่างไร
(เป็นของแข็งเหมือนกัน แต่มีสมบัติต่างกัน คือ สี บางส่วนสีดำ
บางส่วนสีดำมันวาว
และการถูกดูดด้วยอำนาจแม่เหล็กต่างกัน
สารสีดำมันวาวถูกดูดด้วยอำนาจแม่เหล็ก ส่วนสารสีดำไม่ถูกดูดด้วยอำนาจแม่เหล็ก)
3 สารหมายเลข 3 จัดเป็นสารประเภทใด
เพราะเหตุใด
(จัดเป็นสารเนื้อผสม เพราะเนื้อสารไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน)
4 สารหมายเลข 3 มีอะไรเป็นส่วนประกอบ
(สารสีดำมันวาว
คือ ผงตะไบเหล็ก สารสีดำสนิท
คือ ผงถ่าน)
5 สรุปผลการทดลองได้อย่างไร
(สารเนื้อผสมที่มีผงตะไบเหล็กเป็นองค์ประกอบสามารถทำการแยก
สารเนื้อผสมออกได้โดยใช้อำนาจแม่เหล็ก)
6 แม่เหล็กและสารแม่เหล็ก
มีความหมายว่าอย่างไร
(แม่เหล็ก หมายถึง สารในสถานะของแข็ง มีสมบัติดูดโลหะบางชนิดได้
สารแม่เหล็ก หมายถึง
สารที่มีสมบัติถูกดูดด้วยอำนาจแม่เหล็ก)
1 เมื่อผงถ่านกับผงตะไบเหล็ก
ซึ่งมีสีเหมือนกันผสมปนกัน นักเรียนจะแยกสารทั้งสองออกจากกันได้อย่างไร
(ใช้อำนาจแม่เหล็ก เพราะแม่เหล็กสามารถดูดผงตะไบเหล็กได้)
1 วิธีการแยกสารเนื้อผสมโดยวิธีการกรอง การระเหิด และการใช้อำนาจแม่เหล็กแล้ว
ยังมีวิธีใดอีกบ้าง
(การแยกสารด้วยวิธีการตกตะกอน การใช้กรวยแยก การสกัดด้วยตัวทำละลาย
และการหยิบออกหรือเขี่ยออก)
2 การแยกสารด้วยวิธีการตกตะกอน มีหลักการอย่างไร
(ใช้แยกสารที่ประกอบด้วยของแข็งผสมกับของเหลวโดยของแข็งไม่ละลายในของเหลว)
3 การแยกสารด้วยวิธีการใช้กรวยแยก
มีหลักการอย่างไร
(ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมที่ประกอบด้วยของเหลวกับของเหลว
แต่ไม่ละลายกัน
โดยจะแยกเป็นชั้น ๆ)
จะใช้แยกสารที่มีสมบัติอย่างไร
แผนภาพเปรียบเทียบ ความเหมือนและความแตกต่างของการแยกสาร
ระหว่างวิธีการตกตะกอนกับการใช้กรวยแยก)
1 วิธีการแยกสารเนื้อผสมโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย มีหลักการอย่างไร
(การแยกสารด้วยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย
เป็นวิธีการที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งชนิดต่าง ๆ
โดยของแข็งแต่ละชนิดละลายในตัวทำละลายต่างชนิดกัน)
2 การแยกสารเนื้อผสมด้วยวิธีการหยิบหรือเขี่ยออกมีหลักการอย่างไร
(การแยกสารด้วยวิธีการหยิบออกหรือเขี่ยออก
เป็นวิธีที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งกับของแข็ง
ที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน)
1 วิธีแยกสารด้วยการสกัดด้วยตัวทำละลาย และการหยิบออกหรือเขี่ยออก
เหมาะสมที่จะใช้แยกสารที่มีสมบัติอย่างไร
(การแยกสารด้วยวิธีการสกัดด้วยตัวทำละลาย
เป็นวิธีการที่ใช้แยกองค์ประกอบของ
สารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งชนิดต่าง
ๆ โดยของแข็งแต่ละชนิดละลายในตัวทำละลายต่างชนิดกัน
การแยกสารด้วยวิธีการหยิบออกหรือเขี่ยออก เป็นวิธีที่ใช้แยกองค์ประกอบของ
สารเนื้อผสมที่เป็นของแข็งกับของแข็งที่มีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน)
1 ลักษณะและสมบัติของสารทั้ง 3 ชนิดเป็นอย่างไร
นักเรียนจะมีวิธีการใดบ้าง
ที่ใช้ในการแยกส่วนประกอบของสารทั้ง 3 ชนิด
(สารทั้ง 3 ชนิดมีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน
มีสมบัติเหมือนกันตลอดเนื้อสาร
และแยกโดยการระเหยแห้ง การกลั่น)
ทำกิจกรรมที่ 4.4 เรื่อง
องค์ประกอบของสารเนื้อเดียว
2.1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(วิธีแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวโดย การระเหยแห้งทำได้อย่างไร)
2.2 การทดลองนี้ต้องระวังในเรื่องใด
(ทำเครื่องหมายกำกับหมายเลขสารประจำหลุมของของเหลว
ไม่ใส่ของเหลวในจานหลุมโลหะมากเกินไป)
2.3 หลังการต้มสารเนื้อเดียวต่อไปนี้จนแห้ง นักเรียนคาดคะเนผลการทดลองว่าอย่างไร
2.3.1 น้ำกลั่น
(น้ำระเหยหมด ไม่มีสารใดเหลืออยู่)
2.3.2 สารละลายโซเดียมคลอไรด์
(มีผงของแข็งสีขาวในจานหลุมโลหะน้ำระเหยไป)
2.3.3 สารละลายน้ำส้มสายชู
(สารละลายมีกลิ่นฉุน
ไม่มีสารใดเหลืออยู่)
1 ผลการทำกิจกรรมเป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานหรือไม่
อย่างไร
(เป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้
คือ สารละลายโซเดียมคลอไรด์เท่านั้น
ที่เมื่อต้มแล้วมีของแข็งเหลือติดในจานหลุมโลหะ
ส่วนน้ำกลั่นและสารละลายน้ำส้มสายชูระเหยไปหมด
ไม่มีสารใดเหลือในจานหลุมโลหะ)
2 สมบัติของสารทั้ง 3 ชนิด ก่อนต้มเหมือนกันหรือไม่
อย่างไร
(สังเกตด้วยตาพบว่าคล้ายกัน
แต่มีกลิ่นต่างกัน)
3 เมื่อต้มสารทั้ง 3 ชนิดแล้วจะให้ผลอย่างไร
(เมื่อต้มน้ำกลั่น
น้ำระเหยหมดไม่มีสารใดเหลือ
ต้มสารละลายโซเดียมคลอไรด์จนระเหยแห้งหมด จะมีสารสีขาวเหลืออยู่
ส่วนต้มสารละลายน้ำส้มสายชู
ได้กลิ่นฉุน ของเหลวระเหยหมด ไม่มีสารใดเหลือ)
4 สารละลายโซเดียมคลอไรด์ประกอบด้วยสารใดบ้าง
(น้ำ และโซเดียมคลอไรด์)
5 สารละลายน้ำส้มสายชูประกอบด้วยสารใดบ้าง
(น้ำ และกรดแอซีติก)
6 สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
(สารเนื้อเดียวอาจมีสารเพียงชนิดเดียวหรือมีองค์ประกอบเนื้อสารมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้
และสามารถแยกสารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเป็นของแข็งละลายในของเหลว
โดยการนำไปต้มให้ระเหยจนแห้งได้)
1.1 สารเนื้อเดียวบางชนิดที่ไม่สามารถใช้วิธีการระเหยแห้งได้
จะมีวิธีการแยกสารเนื้อเดียวเหล่านั้นได้อย่างไร
(วิธีโครมาโทกราฟี)
กิจกรรมเรื่อง
การแยกสารเนื้อเดียวโดยวิธีโครมาโทกราฟี
2.1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(การแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวโดยใช้วิธีโครมาโทกราฟีทำได้อย่างไร)
2.2 การจุ่มแท่งชอล์กลงในสารละลายน้ำหมึกต้องระวังเรื่องใดบ้าง
(ควรใช้แท่งชอล์กสีขาว
เพราะเมื่อสารที่ซึมขึ้นมามีสีต่าง ๆ จะได้เห็นชัดเจน)
2.3 นักเรียนคิดว่าเมื่อใช้แท่งชอล์กตั้งในสารละลายน้ำหมึก
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
(สารละลายน้ำหมึกแยกเป็นแถบสีต่าง
ๆ บนแท่งชอล์ก)
1 การทดลองเป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานหรือไม่
อย่างไร
(เป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐาน คือ สารละลายน้ำหมึกสีดำแยกเป็นแถบสีต่าง
ๆ บนแท่งชอล์ก)
2 มีการเปลี่ยนแปลงบนแท่งชอล์กหรือไม่
อย่างไร
(หมึกสีดำถูกแยกออกเป็นสารสีต่าง
ๆ ได้แก่ สีน้ำตาล สีม่วง และสีเขียวบนแท่งชอล์ก)
3 สารในสารละลายน้ำหมึกสีดำที่ใช้ในการทดสอบมีสารรวมกันอย่างน้อยกี่สาร
ทราบได้อย่างไร
(อย่างน้อย 3 สาร ทราบได้จากสีที่ถูกแยกออกมามี 3 สี)
4 สรุปผลการทดลองได้อย่างไร
(หมึกสีดำซึ่งเป็นสารเนื้อเดียวแยกองค์ประกอบได้อย่างน้อย 3
ชนิด
โดยวิธีโครมาโทกราฟี)
1 น้ำหมึกสีดำซึ่งไม่สามารถใช้วิธีการแยกสารด้วยวิธีการระเหยแห้งได้
จะมีวิธีการแยกน้ำหมึกสีดำเหล่านั้นได้อย่างไร เพราะเหตุใด
(ใช้วิธีโครมาโทกราฟี)
กิจกรรมเรื่อง การแยกสารเนื้อเดียวโดยวิธีโครมาโทกราฟี
2.1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(การแยกองค์ประกอบน้ำหมึกสีดำ สามารถแยก โดยใช้วิธีโครมาโทกราฟีได้อย่างไร)
2.2 การจุ่มกระดาษกรองลงในสารละลายน้ำหมึกต้องระวังเรื่องใดบ้าง
(จุดสีดำต้องอยู่เหนือระดับน้ำในกล่อง)
2.3 ให้นักเรียนคาดคะเนผลการทดลองว่า
เมื่อใช้กระดาษกรองที่จุดด้วย
สารละลายน้ำหมึกสีดำแล้วจุ่มแถบกระดาษกรองในน้ำกลั่น ผลจะเป็นอย่างไร
(หมึกสีดำแยกเป็นแถบสีต่าง
ๆ ปรากฏบนกระดาษกรอง)
1 การทดลองเป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐานหรือไม่
อย่างไร
(เป็นไปตามที่ตั้งสมมุติฐาน
คือ หมึกสีดำแยกเป็นแถบสีต่าง ๆ บนกระดาษกรอง)
2 กระดาษกรองมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
(หมึกสีดำถูกแยกออกเป็นสารสีต่าง
ๆ ได้แก่ สีน้ำตาล สีม่วง และสีเขียวบนกระดาษกรอง)
3 ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบนกระดาษกรองและบนแท่งชอล์กเหมือนหรือต่างกัน
อย่างไร
(เหมือนกัน คือ
หมึกสีดำจะถูกแยกออกเป็น 3 แถบสี ได้แก่ สีน้ำตาล
สีม่วง และสีเขียว
เรียงจากล่างขึ้นบนตามลำดับ)
4 สารในสารละลายน้ำหมึกสีดำที่ใช้ในการทดสอบมีสารรวมกันอย่างน้อยกี่สาร ทราบได้อย่างไร
(อย่างน้อย 3 สาร ทราบได้จากสีที่ถูกแยกออกมามี 3 สี)
5 สรุปผลการทดลองได้อย่างไร
(หมึกสีดำซึ่งเป็นสารเนื้อเดียวแยกองค์ประกอบได้ อย่างน้อย 3 ชนิด โดยวิธีโครมาโทกราฟี)
6
ถ้าใช้กระดาษอื่นแทนกระดาษกรอง ผลการทดลองที่ได้จะเปลี่ยนแปลงจากเดิมหรือไม่ อย่างไร
(อาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ทั้งระยะทางที่สารสีต่าง ๆ เคลื่อนที่และความสามารถ
ในการถูกแยกของสารสีต่าง
ๆ เนื่องจากตัวดูดซับเป็นกระดาษต่างชนิดกัน)
7 ถ้าใช้ของเหลวอื่น
ๆ เช่น แอลกอฮอล์แทนน้ำกลั่น ผลการทดลองที่ได้จะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
(เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ทั้งระยะและการแยกองค์ประกอบของหมึกสีดำ เนื่องจาก
ตัวพาสารให้เคลื่อนที่ไป
คือ แอลกอฮอล์ เป็นสารต่างชนิดกันกับน้ำ)
8 โครมาโทกราฟีมีหลักการอย่างไร
(ลำดับองค์ประกอบสารที่ถูกแยก
ขึ้นอยู่กับความสามารถในการละลายที่แตกต่างกันขององค์ประกอบ
และความสามารถในการถูกดูดซับขององค์ประกอบ)
9 วิธีโครมาโทกราฟีนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
(ตัวอย่างคำตอบ
1. ใช้แยกสารเพื่อตรวจสอบสารว่าเป็นสารชนิดใด
เช่น การตรวจสีผสมอาหาร
2. แยกสารเนื้อเดียวที่มีส่วนผสมมากกว่า 1 ชนิดเพื่อให้ได้สารบริสุทธิ์)
1 การกลั่นสามารถแยกองค์ประกอบในน้ำเชื่อมได้หรือไม่
เพราะเหตุใด
(ได้
เนื่องจากน้ำเชื่อมประกอบด้วยน้ำและน้ำตาลซึ่งมีจุดเดือดต่างกัน
จึงสามารถแยกน้ำออกจากน้ำตาลได้)
2 เมื่อนำน้ำเชื่อมมาแยกองค์ประกอบโดยวิธีการกลั่นจะได้สารใดบ้าง
และอยู่ส่วนใดของอุปกรณ์การกลั่น
(ได้น้ำและน้ำตาล โดยจะได้ไอน้ำซึ่งผ่านเครื่องควบแน่นเป็นของเหลว
ในบีกเกอร์และได้น้ำตาลในขวดกลั่น)
3 น้ำมันที่ได้จากการกลั่นตัวที่ระดับล่างและระดับบนของหอกลั่น
น้ำมันระดับใด
มีจุดเดือดสูงกว่ากัน เพราะเหตุใด
(ระดับล่างมีจุดเดือดสูงกว่าเพราะกลั่นตัวทีหลังและร้อนกว่า)
4 เพราะเหตุใดจึงต้องสร้างหอกลั่นปิโตรเลียมให้สูง
(เพื่อประโยชน์ในการแยกไอน้ำมันแต่ละชนิดออกจากกัน
อุณหภูมิในหอกลั่นระดับความสูงต่างกันจะไม่เท่ากัน เพราะไอน้ำมัน
แต่ละชนิดกลั่นตัวที่อุณหภูมิต่างกัน)
5 การระเหยแห้งกับการกลั่นมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
1 ลักษณะและสมบัติของสารทั้ง 2 ชนิดเป็นอย่างไร
นักเรียนจะมีวิธีการใดบ้างที่ใช้
ในการทำสารทั้ง 2 ชนิด
ในการทำสารทั้ง 2 ชนิด
(การผลิตเกลือสมุทร
ใช้วิธีการระเหยและการตกผลึก
ส่วนการผลิตเกลือสินเธาว์
ใช้วิธีการระเหยแห้ง)
1 นักเรียนจะมีวิธีการใดในการแยกสารต่าง
ๆ ในชีวิตประจำวัน
(การแยกสารต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันมีหลากหลายวิธี
ขึ้นกับชนิดและสมบัติของสารที่ต้องการแยก)
1 เกลือสินเธาว์กับเกลือสมุทรมีธาตุไอโอดีนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
(ต่างกัน โดยเกลือสินเธาว์จะมีธาตุไอโอดีนน้อยมากหรือไม่มีเลย
ส่วนเกลือสมุทรมีธาตุไอโอดีนปริมาณมากกว่า)
2 การผลิตเกลือสมุทรและเกลือสินเธาว์อาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการผลิตเหมือนหรือแตกต่างกัน
อย่างไร (ต่างกัน การผลิตเกลือสมุทร
ใช้หลักการระเหยและหลักการตกผลึกส่วนการผลิตเกลือสินเธาว์ ใช้หลักการระเหยแห้ง)
2.3 เพราะเหตุใดจึงไม่ผลิตเกลือสมุทรโดยวิธีการต้มให้น้ำระเหยแห้งไป
(เพราะจะได้เกลือทุกชนิดออกมาพร้อมกัน
ซึ่งเกลือบางชนิดรับประทานไม่ได้)
2.4 น้ำเกลือที่ให้ทางหลอดเลือดแก่คนไข้ที่รับประทานอาหารไม่ได้
เพื่อเป็นการชดเชยเกลือแร่ มีสารใดเป็นส่วนประกอบสำคัญ (โซเดียมคลอไรด์)
2.5 การตกผลึก และผลึก หมายความว่าอย่างไร
(การตกผลึก หมายถึง กระบวนการที่ ตัวละลายที่มีสถานะเป็นของแข็งแยกตัวออกมาจากสารละลายอิ่มตัว
ผลึก หมายถึง สารที่มีลักษณะเป็นของแข็ง มีผิวหน้าราบเรียบ มีรูปทรงสัณฐานเป็นเหลี่ยมแน่นอน)
2.6 ผลึกของสารแต่ละชนิดเหมือนกันหรือไม่ อย่างไร (ไม่เหมือนกัน
เช่น
ผลึกเกลือแกงมีลักษณะเป็นเหลี่ยมลูกบาศก์
ส่วนผลึกของจุนสีเป็นรูปหกเหลี่ยม)
2.7 การสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช อาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการแยกสกัดน้ำมันอย่างไร
(อาศัยหลักการสกัดสารที่ไม่ละลายน้ำและระเหยได้ง่าย
โดยใช้การกลั่นด้วยไอน้ำเป็นตัวพาน้ำมันออกมา และเนื่องจากน้ำมันหอมระเหยไม่ละลายน้ำจึงแยกเป็น 2 ชั้นกับน้ำ จากนั้นใช้วิธีการแยกสารด้วยวิธีการใช้กรวยแยก
ทำให้สามารถแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำได้)
2.8 ในชีวิตประจำวันมีกิจกรรมใดบ้างที่ต้องใช้การแยกสารไปเกี่ยวข้อง
(ตัวอย่างคำตอบ
- การทำน้ำให้สะอาดด้วยการแกว่งสารส้ม
- การถนอมอาหารโดยการให้ความร้อนเพื่อให้อาหารแห้ง)
2.9 ในท้องถิ่นของนักเรียนมีการสกัดสารชนิดใดจากพืชบ้าง การสกัดสารแต่ละชนิด
ใช้วิธีการแตกต่างกันอย่างไร
และมีการใช้ประโยชน์จากสารที่สกัดได้อย่างไร
(ตัวอย่างคำตอบ
ตะไคร้หอม ดอกมะลิ ดอกอัญชัน สามารถนำมาสกัดสารบางชนิดได้
โดยวิธีการสกัดส่วนใหญ่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย โดยกลิ่นจากดอกมะลิและสีจากดอกอัญชัน ใช้น้ำเป็นตัวสกัด
ส่วนกลิ่นตะไคร้หอมใช้น้ำร้อนสกัด
- สีและกลิ่นของดอกอัญชันและดอกมะลิ
ใช้ผสมทำอาหารคาว หวาน
- กลิ่นของตะไคร้หอม
นำมาผสมทำยาหม่อง ยาดม)
ยกตัวอย่างสถานการณ์ที่คุณต้องใช้การกลั่นเพื่อแยกสารกรองเพราะจะไม่ทำงาน ให้หน่อยค่ะ ไม่ค่อยเข้าใจ
ตอบลบยกตัวอย่างสถานการณ์ที่คุณต้องใช้การกลั่นเพื่อแยกสารกรองเพราะจะไม่ทำงาน ให้หน่อยค่ะ ไม่ค่อยเข้าใจ
ตอบลบควย ไม่มีเส้น
ตอบลบดีๆ
ตอบลบDream
ไม่เข้าใจเลยเว้ย :(
ตอบลบหาเฉลยเจอแล้ววววว🤣🤣🤣
ตอบลบคำถามท้ายหน่วยที่2
ตอบลบยังหาเฉลยไม่เจอะเลยคะ
ตอบลบงง งวยอ่ะแกคือกว่าจะหาคำตอบเจจออ่ะ
ตอบลบงง
ตอบลบ