วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เฉลยแบบฝึกหัด วิทยาศาสตร์ ม.2 หน่วยที่ 3 ธาตุและสารประกอบ

หน้า 95
1. จงอธิบายความหมายของธาตุ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ 
(ธาตุ หมายถึง สสารที่ประกอบด้วยอนุภาคเพียงชนิดเดียว 
ไม่สามารถนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่น ๆ ได้ โดยวิธีการทางเคมี เช่น 
แก๊สออกซิเจน 1 โมเลกุล ประกอบด้วย อนุภาคของธาตุออกซิเจน 2 อะตอม)
2 น้ำหวาน น้ำตาลทราย น้ำคลอง แก๊สออกซิเจน สารชนิดใดไม่สามารถแยกได้
โดยวิธีการทางกายภาพ เพราะเหตุใด
(น้ำตาลทรายและแก๊สออกซิเจน ไม่สามารถแยกได้โดยวิธีการทางกายภาพ 
เพราะจัดเป็นสารบริสุทธิ์ มีองค์ประกอบเป็นสารเพียง 1 ชนิดเท่านั้น)













3 จากแผนภูมิปริมาณของธาตุต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก 
ธาตุที่มีปริมาณมากที่สุดในโลก คือธาตุชนิดใด และมีปริมาณเท่าไร 
(ธาตุออกซิเจน มีประมาณ 51%)
แคลเซียมและฟอสฟอรัสเป็นธาตุที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน
ในร่างกายมีปริมาณเท่าไร ตามลำดับ 
(มีแคลเซียม 1.5% และมีฟอสฟอรัส 1% ตามลำดับ)
5 ถ้านักเรียนมีน้ำหนัก 40 กิโลกรัม จะมีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบในร่างกายเท่าไร 
(26 กิโลกรัม)
หน้า 98-102
1 สัญลักษณ์ธาตุคืออะไร
(สัญลักษณ์ธาตุ คือ เครื่องหมายซึ่งใช้แทนชื่อธาตุเพื่อให้เข้าใจตรงกันเป็นสากล)
2 สัญลักษณ์ธาตุที่นักเรียนรู้จักมีแบบใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
(มี 2 แบบ คือ    1. สัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นรูปภาพ เช่น          แทนคาร์บอน         แทนออกซิเจน
        แทนไฮโดรเจน ให้นร.เติมสัญลักษณ์ลงในช่องเอง
                          2. สัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นตัวอักษร เช่น  C แทนคาร์บอน  O  แทนออกซิเจน
 
H แทนไฮโดรเจน  K แทนโพแทสเซียม)
3 สัญลักษณ์ที่จอห์น ดอลตัน เสนอให้ใช้มีลักษณะอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
(สัญลักษณ์แบบรูปภาพ โดยกำหนดให้ใช้รูปวงกลมที่มีสีหรือรายละเอียดภายในวงกลม
แตกต่างกัน เช่น         แทนออกซิเจน           แทนไนโตรเจน) ให้นร.เติมสัญลักษณ์ลงในช่องเอง
4 จงเขียนสัญลักษณ์ธาตุเป็นแบบตัวอักษร จากสัญลักษณ์ธาตุแบบรูปภาพ
ที่กำหนดให้ต่อไปนี้    








จากตารางธาตุ ธาตุที่อยู่ในหมู่ 4A คาบที่ 2 คือธาตุอะไร 
(ธาตุคาร์บอน)  
6 เงินเป็นโลหะที่นำไฟฟ้าได้ดีที่สุด ให้นักเรียนเขียนสัญลักษณ์ของธาตุเงิน
พร้อมทั้งระบุหมู่และคาบ ตามลำดับ 
(สัญลักษณ์ของธาตุ คือ Ag อยู่หมู่ 1B คาบที่ 5)
7 จากตารางธาตุ แคลเซียม (Ca) ไนโตรเจน (N) ออกซิเจน (O) ซิลิคอน (Si) และคลอรีน 
ธาตุเหล่านี้อยู่ในคาบและหมู่ใดตามตารางธาตุ
(แคลเซียม อยู่หมู่ 2A คาบ 4
ไนโตรเจน อยู่หมู่ 5A คาบ 2
ออกซิเจน อยู่หมู่ 6A คาบ 2
ซิลิคอน อยู่หมู่ 4A คาบ 3
คลอรีน อยู่หมู่ 7A คาบ 3) 

กิจกรรมที่ 3.1 เรื่อง ศึกษาสมบัติของธาตุในธรรมชาติ 

1 ปัญหาของการทำกิจกรรมนี้คืออะไร
(ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร)
2 นักเรียนคาดคะเนว่าสารแต่ละชนิดมีสมบัติเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
(อาจมีสมบัติบางอย่างคล้ายกัน เช่น สถานะ สี การนำไฟฟ้า แต่อาจมีสมบัติบางอย่างแตกต่างกัน)
คำถามหลังกิจกรรม
1 ผลการศึกษาสมบัติของธาตุแต่ละชนิดเป็นไปตามที่นักเรียนคาดคะเนหรือไม่ อย่างไร 
(เป็นไปตามที่คาดคะเน คือ ธาตุแต่ละชนิดอาจมีสมบัติบางอย่างคล้ายกัน 
แต่มีสมบัติบางอย่างแตกต่างกัน เช่น กำมะถันกับแมกนีเซียม 
มีสถานะเป็นของแข็งเหมือนกัน แต่มีสีและสมบัติ อื่น ๆ ต่างกัน คือ 
กำมะถันมีสีเหลือง เปราะ ไม่นำไฟฟ้าและไม่นำความร้อน จุดเดือด-จุดหลอมเหลวต่ำ 
ส่วนแมกนีเซียม มีสีเงิน เป็นมันวาว แข็งและเหนียว นำไฟฟ้าได้ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง)
2 นักเรียนได้ศึกษาสมบัติของธาตุแต่ละชนิดด้วยวิธีการใดบ้าง จงอธิบาย
( 1. สังเกตสมบัติทางกายภาพภายนอกโดยใช้ประสาทสัมผัส
  2. ทำการทดลองเพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพอื่น ๆ เช่น การนำไฟฟ้า
การนำความร้อน การละลายน้ำ ความแข็ง  
  3. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีอื่น ๆ จากอินเทอร์เน็ตและหนังสือต่าง ๆ)
ธาตุที่นักเรียนไปศึกษามามีธาตุชนิดใดบ้างที่มีสมบัติคล้ายคลึงกัน จงยกตัวอย่างประกอบ 
(กำมะถันและไอโอดีนมีสมบัติบางประการคล้ายกัน เช่น สถานะของแข็ง ไม่นำไฟฟ้า
ไม่นำความร้อน เปราะ และจุดหลอมเหลวใกล้เคียงกัน)
 4 ให้นักเรียนรวบรวมสมบัติของธาตุทุกชนิดที่นักเรียนทุกคนในห้องได้ไปศึกษา
มาแล้วนำมาจำแนกประเภทของธาตุ พร้อมทั้งระบุเกณฑ์ในการจำแนก
























การนำไปใช้

ถ้านักเรียนใช้ความเป็นโลหะเป็นเกณฑ์จะจำแนกประเภทของธาตุได้กี่ประเภท อะไรบ้าง 
(2 ประเภท คือ ธาตุที่เป็นโลหะ ได้แก่ ทองแดง เงิน เหล็ก และปรอท
และธาตุที่เป็นอโลหะ ได้แก่ แกรไฟต์ กำมะถัน ออกซิเจน และโบรมีน)
6 ธาตุที่เป็นโลหะและอโลหะมีสมบัติแตกต่างกันอย่างไรบ้าง 
(-สมบัติของโลหะ คือ นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี 
มีสถานะเป็นของแข็ง ยกเว้นปรอทเป็นของเหลว เป็นมันวาว  
ความหนาแน่นสูง จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ตีเป็นแผ่นและดึงเป็นเส้นได้
- สมบัติของอโลหะ คือ  ไม่นำไฟฟ้าและไม่นำความร้อน มีได้ทั้ง 3 สถานะ 
ยกเว้นแกรไฟต์ ไม่ส่องประกายแวววาว ถ้าเป็นของแข็งจะเปราะแตกง่าย 
ความหนาแน่นต่ำ จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ)











7 จากตาราง นักเรียนบอกได้หรือไม่ว่าธาตุใดเป็นโลหะ และธาตุใดเป็นอโลหะ     
(ธาตุที่เป็นโลหะ ได้แก่ ปรอท เหล็ก โซเดียม และแมกนีเซียม
ธาตุที่เป็นอโลหะ ได้แก่ ไฮโดรเจน กำมะถัน คลอรีน โบรมีน ออกซิเจน และไอโอดีน)
จากตาราง ซิลิคอนควรเป็นโลหะ อโลหะ หรือกึ่งโลหะ เพราะเหตุใด 
(เป็นธาตุกึ่งโลหะ เพราะจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูง นำไฟฟ้าได้เล็กน้อย เป็นของแข็งมันวาว
ซึ่งมีสมบัติบางอย่างคล้ายโลหะและบางอย่างคล้ายอโลหะ จึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ)
ธาตุที่เป็นโลหะ อโลหะ และกึ่งโลหะ มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันด้านใดบ้าง 
พร้อมยกตัวอย่างประกอบ 
(- ประโยชน์ของโลหะ เช่น ทองแดงนำมาทำสายไฟฟ้า 
ทองคำและเงินใช้ทำเครื่องประดับ ปรอทใช้บรรจุในเทอร์มอมิเตอร์เพื่อบอกระดับอุณหภูมิ 
อะลูมิเนียม ใช้ทำภาชนะหุงต้ม เหล็กใช้ทำมีดหรืออุปกรณ์ที่ต้องการความแข็งแกร่ง
- ประโยชน์ของอโลหะ เช่น แกรไฟต์ ใช้เป็นตัวนำไฟฟ้าในถ่านไฟฉาย ใช้ทำไส้ดินสอ
ออกซิเจน เป็นแก๊สที่ใช้ในการหายใจของสิ่งมีชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญในการเผาไหม้เชื้อเพลิง
- ประโยชน์ของกึ่งโลหะ เช่น ซิลิคอน ใช้เป็นวัตถุกึ่งตัวนำในวงจรอิเล็กทรอนิกส์  
ใช้เป็นส่วนประกอบในการประดิษฐ์เซลล์สุริยะ)
10 ธาตุ A เป็นของแข็ง ส่องประกายแวววาว นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี
มีความหนาแน่น 7.8 กรัม ต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จุดเดือด 1,090   ํ
จุดหลอมเหลว 650   ํC ธาตุ A  ควรเป็นโลหะหรืออโลหะ เพราะเหตุใด 
(เป็นโลหะ เพราะเมื่อพิจารณาจากสมบัติจะคล้ายโลหะ คือ นำไฟฟ้าและนำความร้อนได้ดี
มีความหนาแน่นสูง จุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง)


ธาตุกัมตรังสี
1 จงอธิบายความหมายของธาตุกัมมันตรังสี พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
(ธาตุกัมมันตรังสี คือ ธาตุที่สามารถสลายตัวและแผ่รังสีออกมาได้ เช่น ยูเรเนียม เรเดียม โคบอลต์-60)
2 นักเรียนจะรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของธาตุกัมมันตรังสี 
รวมทั้งแนวทางในการป้องกันและหลีกเลี่ยงกัมมันตภาพรังสีต่อชุมชน ประเทศอาเซียน 
หรือโลกของเราได้อย่างไร 
(จัดรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับธาตุกัมมันตรังสี รวมทั้งแนวทางในการป้องกันและหลีกเลี่ยงกัมมันตรังสี 
โดยใช้การจัดป้ายนิเทศ การแข่งขันตอบปัญหา การประกวดคำขวัญ 
ประกวดละครต่อต้านการใช้กัมมันตรังสีในอาหาร)
3 อาหารและผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการฉายรังสีจะมีเครื่องหมายและข้อความที่ระบุว่า
ฉายรังสี กำกับไว้ เพื่อให้คนทั่วโลกได้เข้าใจตรงกัน เครื่องหมายดังกล่าวมีลักษณะอย่างไร












กิจกรรมรื่อง กล่องปริศนา

               1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(ลักษณะและส่วนประกอบภายในกล่องปริศนาระหว่างการใช้ประสาทสัมผัสกับ
การใช้ลวดโลหะสอดเข้าไปภายในกล่องเหมือนหรือต่างกัน อย่างไร)

2 นักเรียนคาดคะเนว่ามโนภาพเกี่ยวกับลักษณะและส่วนประกอบภายในกล่องปริศนา 
ที่ได้จากการใช้ประสาทสัมผัส และเมื่อใช้อุปกรณ์ คือ ลวดโลหะ ช่วยในการศึกษา แบบใด
จะได้มโนภาพใกล้เคียงกับเมื่อเปิดฝากล่องออกดูมากกว่ากัน เพราะเหตุใด 
(การใช้อุปกรณ์ คือ ลวดโลหะ ช่วยในการศึกษาน่าจะให้มโนภาพที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากกว่า 
พราะการใช้อุปกรณ์สามารถรวบรวมข้อมูลได้มากกว่า 
จึงได้มโนภาพที่ใกล้เคียงกว่าไม่ใช้อุปกรณ์ใด ๆ)

3 นักเรียนมีวิธีการศึกษาลักษณะและส่วนประกอบภายในกล่องปริศนาโดยไม่เปิดฝากล่องอย่างไร
จึงจะได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด 
(ใช้อุปกรณ์ช่วยในการศึกษา ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง และรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกหลาย ๆ คน 
จึงนำข้อมูลทั้งหมดมาลงข้อสรุปเป็นมโนภาพ)

1 ผลการศึกษาเป็นไปตามที่นักเรียนคาดคะเนหรือไม่ 
(เป็นไปตามที่คาดคะเนไว้ คือ เมื่อใช้ลวดสอดเข้าไปภายในกล่อง
จะได้มโนภาพใกล้เคียงกับของจริงมากกว่าการใช้ประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียว)
2 จงเปรียบเทียบมโนภาพของลักษณะและส่วนประกอบภายในกล่องปริศนา 
ที่ได้มาโดยการใช้ประสาทสัมผัสอย่างเดียวกับมโนภาพที่ได้จากการทดสอบ โดยใช้ลวดโลหะ
สอดเข้าไปภายในกล่องว่าแบบใดใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่ากัน
(มโนภาพของลักษณะและส่วนประกอบภายในกล่องปริศนาที่ได้จากการทดสอบ 
โดยใช้ลวดโลหะสอดเข้าไปภายในกล่องใกล้เคียงกับความจริงมากกว่า)
3 มโนภาพของนักเรียนแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับลักษณะและส่วนประกอบภายใน
กล่องปริศนาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
(บางกลุ่มคล้ายกัน แต่บางกลุ่มแตกต่างกัน)
4 เพราะเหตุใดมโนภาพเกี่ยวกับลักษณะและส่วนประกอบภายในกล่องปริศนา
ของแต่ละกลุ่มจึงแตกต่างกัน
(เพราะแต่ละกลุ่มมีประสบการณ์แตกต่างกัน จึงทำให้การนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
มาลงข้อสรุปเป็นมโนภาพแตกต่างกัน)
5 แบบจำลองอะตอมคืออะไร และมีวิธีการศึกษาอย่างไร
(แบบจำลองอะตอม คือ มโนภาพเกี่ยวกับอะตอมของนักวิทยาศาสตร์
ที่ได้มาจากการนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองและจากการศึกษา โดยใช้เครื่องมือบางชนิด
มาสร้างเป็นมโนภาพของแบบจำลองอะตอม)
6 จงยกตัวอย่างแบบจำลองอะตอมที่นักเรียนรู้จักมา 2 ตัวอย่าง













สรุปผลการทำกิจกรรม

แบบจำลองอะตอม คือ มโนภาพเกี่ยวกับอะตอมของนักวิทยาศาสตร์
ที่ได้มาจากการนำข้อมูลจากการทดลองมาสร้างเป็นมโนภาพของอะตอมขึ้นมา 
และเมื่อมีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ทันสมัยมากขึ้นอาจทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มขึ้น
จึงทำให้แนวคิดเกี่ยวกับแบบจำลองอะตอมเปลี่ยนแปลงไปได้


เรื่อง อะตอมและโมเลกุลของสาร

อนุภาคมูลฐานของอะตอมมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
(3 ชนิด คือ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน)
อนุภาคที่เป็นส่วนประกอบสำคัญภายในนิวเคลียสของอะตอมคืออะไร
(โปรตอน และนิวตรอน)
โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน มีสมบัติแตกต่างกันอย่างไร
(โปรตอน         มีประจุ + 1        มีมวล 1.6725 × 10-24   กรัม
 นิวตรอน        ไม่มีประจุ          มีมวล 1.6748 ×10-24    กรัม
 อิเล็กตรอน     มีประจุ  -1         มีมวล 9.11 × 10-24        กรัม)
อะตอมและโมเลกุลแตกต่างกันอย่างไร
- อะตอมเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดที่สามารถแสดงสมบัติของธาตุนั้น ๆ ได้
แต่โดยทั่วไปอะตอมไม่สามารถอยู่โดยลำพังได้ จะต้องรวมกับอะตอมอื่น
โดยมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมกลายเป็นโมเลกุลของสาร
โมเลกุลของสารเป็นหน่วยย่อยที่สุดของสารที่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระ
เกิดจากการรวมกันของอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป
แก๊สไฮโดรเจน (H2 ) 1 โมเลกุล ประกอบด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอม
จัดเป็นโมเลกุลของธาตุหรือสารประกอบ
(โมเลกุลของธาตุ)
น้ำ (H2 O) แก๊สออกซิเจน (O2 ) กลูโคส (C6 H12 O6 ) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 )
จัดเป็นโมเลกุลของธาตุหรือสารประกอบ เพราะเหตุใด
(โมเลกุลของธาตุ คือ แก๊สออกซิเจน (O2 )
โมเลกุลของสารประกอบ คือ น้ำ (H2 O)
กลูโคส (C6 H12 O6 ) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ))

ได้ข้อสรุป ดังนี้

 อะตอม คือ อนุภาคที่เล็กที่สุดของสสารที่สามารถแสดงสมบัติเฉพาะตัวของธาตุชนิดนั้น ๆ ได้
แต่อะตอมไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระโดยลำพัง ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานของอะตอม 3 ชนิด
คือ โปรตอน นิวตรอน และอิเล็กตรอน โดยโปรตอนและนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียสของอะตอม 
และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบ ๆ นิวเคลียสอย่างรวดเร็ว
โมเลกุล คือ หน่วยที่ย่อยที่สุดของสารที่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระ
เกิดจากการรวมกันของอะตอมตั้งแต่ 2 อะตอมขึ้นไป แบ่งเป็น

โมเลกุลของธาตุ เช่น แก๊สออกซิเจน (O2) แก๊สไนโตรเจน (N2) และ

โมเลกุลของสารประกอบ เช่น แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำ (H2O) ”    


กิจกรรม เรื่องสมบัติของสารประกอบ 

1 ปัญหาของการทดลองนี้คืออะไร
(โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต (ด่างทับทิม) เป็นธาตุหรือสารประกอบ)
2 เมื่อเผาโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต จงคาดคะเนผลการทดลองต่อไปนี้
1) ลักษณะโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตก่อนเผาและหลังเผาเหมือนหรือต่างกัน อย่างไร
(ต่างกัน คือ หลังเผาน่าจะกลายเป็นสีดำ)
2) เมื่อทดสอบแก๊สที่เก็บได้จากการเผาโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตด้วย
ก้านธูปที่เป็นถ่านแดงจะให้ผลเช่นไร
(จะมีเปลวไฟลุกติดขึ้นมา)
3) เมื่อหยดน้ำกลั่นลงในของแข็งที่เหลือจากการเผาแล้วเป็นอย่างไร
(จะมีสารบางส่วนละลายน้ำได้ บางส่วนไม่ละลายน้ำ)

3 การทดลองนี้นักเรียนควรระมัดระวังอะไรบ้าง
(- เมื่อจะดับไฟควรนำสายยางออกจากอ่างน้ำก่อน เพื่อไม่ให้น้ำไหลกลับเข้าไป
 ในหลอดทดลองหลังจากดับไฟ
- ควรระมัดระวังก้านธูปไม่ให้ไปจี้โดนเพื่อน อาจได้รับอันตรายได้)

1 ผลการทดลองเป็นไปตามที่คาดคะเนหรือไม่ อย่างไร
(เป็นไปตามที่คาดคะเนไว้ คือ เมื่อเผาด่างทับทิมจะได้แก๊สที่ช่วยให้ไฟติด
ของแข็งสีดำไม่ละลายน้ำ และของแข็งสีเขียว ละลายน้ำได้)
2 โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตก่อนเผา และหลังเผามีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
(ก่อนเผาเป็นของแข็งสีชมพูอมม่วง ละลายน้ำได้ดี แต่หลังเผาได้สาร 3 ชนิด
คือ ของแข็งสีดำ ไม่ละลายน้ำ ของแข็งสีเขียว ละลายน้ำได้ และแก๊สช่วยให้ไฟติด)
3 นักเรียนสังเกตเห็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการเผาโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเป็นกี่ชนิด
แต่ละชนิดมีสีและสถานะเป็นอย่างไร
(3 ชนิด คือ 1. ของแข็งสีดำ ไม่ละลายน้ำ 2. ของแข็งสีเขียวละลายน้ำได้ และ
3. แก๊สไม่มีสี ช่วยให้ไฟติดได้) 
4 แก๊สที่ได้จากการเผาคือแก๊สอะไร ทราบได้อย่างไร
(แก๊สออกซิเจน เพราะมีสมบัติช่วยให้ไฟติด เมื่อทดสอบด้วยก้านธูปเป็นถ่านแดง
จึงมีเปลวไฟลุกติดขึ้นมา)
โพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตจัดเป็นธาตุหรือสารประกอบ เพราะเหตุใด
(สารประกอบ เพราะประกอบด้วยธาตุมากกว่า 1 ชนิด 
เนื่องจากในการเผาโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตได้ผลิตภัณฑ์ 3 ชนิด 
ดังนั้น จึงจัดเป็นสารประกอบ)
6 จงสรุปผลการทดลอง
(เมื่อเผาโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตจะได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารใหม่ 3 ชนิด
แสดงว่าสารโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตประกอบด้วยธาตุมากกว่า 1 ชนิด
จึงจัดโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนตเป็นสารประกอบ)
7 จงบอกความหมายของธาตุและสารประกอบพร้อมทั้งยกตัวอย่างธาตุและสารประกอบ
ที่พบในชีวิตประจำวันมาอย่างละ 3 ชนิด
(ธาตุ คือ สสารที่ประกอบด้วยอนุภาคเพียงชนิดเดียว 
ไม่สามารถนำมาแยกสลายให้กลายเป็นสารอื่น ๆ ได้ โดยวิธีการทางเคมี 
เช่น คาร์บอน (C) อะลูมิเนียม (Al) กำมะถัน (S) 
ส่วนสารประกอบ คือ สารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเคมีของธาตุมากกว่า 1 ชนิด
ในอัตราส่วนที่คงที่ เช่น น้ำ (H2O) น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ))

สรุปผลการทำกิจกรรม
สารประกอบ คือสารบริสุทธิ์ที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเคมี
ของอะตอมของธาตุมากกว่า 1 ชนิด ในอัตราส่วนที่คงที่